วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การบูรณาการ

การบูรณาการ คือการเชื่อมโยงความรู้สาขาวิชาต่างๆเข้าด้วยกัน โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ เพื่อให้นักเรียนสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง และยังผลให้เกิดการดัดแปลงและปรับปรุงพฤติกรรมของนักเรียนให้เข้ากับสภาพชีวิตได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม เน้นองค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา และเน้นการสร้างความรู้ของผู้เรียนที่มากกว่า การให้เนื้อหาโดยครูเป็นผู้กำหนด
แนวคิดของการบูรณาการ มี 3 แนวคิดหลักคือ
- ข้อมูลพื้นฐานบุคคลสามารถสร้างเป็นข้อมูล
- ข้อมูลต่างๆ บุคคลสามารถสร้างเป็นความรู้
- ความรู้ต่างๆ บุคคลสามารถสร้างเป็นสติปัญญา
รูปแบบของการบูรณาการ มี 2 รูปแบบคือ
1. การบูรณาการภายในวิชา เป็นการเชื่อมโยงการเรียนรู้ระหว่างเนื้อหาในกลุ่มวิชา
2. การบูรณาการระหว่างวิชา เป็นการบูรณาการที่จัดได้ว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ มี 4 แบบคือ
1. บูรณาการแบบสอดแทรก
2. บูรณาการแบบคู่ขนาน
3. บูรณาการแบบสหวิทยาการ
4. บูรณาการข้ามวิชา
ลักษณะสำคัญของการบูรณาการ เป็นการแสดงให้เห็นว่าการบูรณาการเป็นอย่างไร ซึ่งมีลายละเอียดดังนี้
1.เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้ กระบวนการ และการปฏิบัติ2.เป็นการบูรณาการระหว่างวิชาได้อย่างกลมกลืน3.เป็นการบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง4.เป็นการบูรณาการเพื่อจัดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ 5.เป็นการบูรณาการให้เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างความคิดรวบยอดของวิชาต่างๆ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย
ประโยชน์หรือข้อดีของการบูรณาการ
1.เป็นการนำวิชาหรือศาสตร์ต่างๆ เชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อหรือกิจกรรมเดียวกัน2.ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนที่ลึกซึ้ง และมีใกล้เคียงกับชีวิตจริง 3.ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในลักษณะองค์รวม4.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ ความเข้าใจ จากสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัวได้มากขึ้น5.เป็นแนวทางที่ช่วยให้ครูได้ทำงานร่วมกัน 6.ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูได้คิดวิธีการหรือนำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้
7. เป็นการแก้ปัญหาในบางเนื้อหาวิชาที่ยากแก่การสอน
ข้อด้อยของการบูรณาการ
1. เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นได้ยาก
2. ยากแก่การนำไปใช้สอนจริง
3. บางครั้งเนื้อหาอาจกว้างเกินไป จนผู้เรียนไม่เข้าใจลึกซึ้ง

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


การบูรณาการเป็นการนำความรู้ในแต่ละสาขาวิชามาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้ที่ชัดเจน และเชื่อมโยงกันในหลายๆ ด้าน รวมทั้งสามารถนำความรู้นั้นมาใช้ได้ในชีวิตจริง

แนวคิดของการบูรณาการคือ ข้อมูลสามารถสร้างความรู้ และความรู้สามารถสร้างสติปัญญา



การบูรณาการสามารถทำได้ 2 รูปแบบคือ ภายในวิชา และภายนอกวิชา ซึ่งการบูรณาการภายนอกวิชาสามารถทำได้หลายวิธี




ลักษณะสำคัญของการบูรราการคือสามารถนำศาสตร์สาขาวิชาต่างๆ มาใช้ได้อย่างกลมกลืน





ประโยชน์ของการบูรราการคือ สามารถนำศาสตร์ความรู้ต่างๆ มาใช้ได้อย่างกลมกลืน และทำให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย และสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน






ข้อด้อยของการบูรณาการคือ การจัดกิจกรรมที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย







การบูรณาการคือการนำความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ มาสร้างความรู้ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงให้แก่ผู้เรียน



















ตัวอย่างการบูรณาการนี้เป้นการแสดงให้เห็นว่าการบูรณาการสามารถนำสาตร์ต่างๆ มารวมกันเป็นองค์ความรู้ได้